1768 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำธุรกิจข้ามชาติ ย่อมมีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ซึ่งวันนี้ทางเราจึงได้มาแบ่งปันสิ่งที่ควรระวังที่อาจเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจร่วมกับคนไต้หวัน
วันหยุดนักขัตฤกษ์
เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่า ประเทศไทยมีวันหยุดนักขัตฤกษ์เยอะมากๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การติดต่อการระหว่างประเทศสะดุด และไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งทางไต้หวันก็มีวันหยุดที่แตกต่างจากประเทศไทย ดังนั้นการตรวจเช็ควันหยุดนักขัตฤกษ์ของกันและกัน จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในการร่วมงานกับชาวไต้หวัน นอกจากจะเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันแล้ว ยังสามารถหาโอกาสในการสร้างสัมพันธไมตรีได้อีกด้วย
สไตล์การพูดสื่อสาร
ชาวไต้หวันเป็นประเทศที่พูดจาอ้อมค้อม มีชั้นเชิงในการพูด เพื่อรักษาน้ำใจ ทำให้คำพูดฟังดูไม่รุนแรง และผู้ฟังอาจจะต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ ในการแปลความหมาย ซึ่งจะแตกต่างจากคนไทยที่พูดจาค่อนข้างชัดเจน และตรงไปตรงมา ให้ผู้ฟังได้รับรู้ถึงุดประสงค์ในการพูดได้อย่างไม่ซับซ้อน โดยในบ้างครั้งการคุยธุรกิจระหว่างประเทศ อาจเกิดการสื่อความหมายผิดเนื่องจากมีการแปลความหมายไม่ตรงกัน หรือเกิดความรู้สึกขุ่นเคืองเนื่องจากใช้คำที่ไม่เสนาะหูได้
การให้ระยะเวลาเครดิต
การให้ระยะเวลาเครดิตในประเทศไทยนั้นถือเป็นเรื่องปกติ และทำกันอย่างแพร่หลายในแทบจะทุกธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่สร้างความสัมพันธ์ และดึงดูดสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าได้เป็นอย่างดี แต่ในทางกลับกัน ธุรกิจไต้หวันจะมีการให้เครดิตเฉพาะกับคู่ค้าที่มีสัมพันธภาพที่ดี ร่วมงานกันมาอย่างยาวนาน หรือ คู่ค้ามีความน่าเชื่อถือสูง ดังนั้นการขอเครดิตกับบริษัทไต้หวัน จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกใหม่ และไม่นิยมปฏิบัติกัน
การร่วมมือกับคนกลาง
คนไต้หวันชอบที่จะใช้บริการคนกลางในการติดต่อธุรกิจ จากมุมมองที่ว่า คนกลางจะนำพามาซึ่งโอกาสที่หลากหลาย ยิ่งมีความสัมพันธ์กับคนกลางที่ดี จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ มีกลุ่มพาร์ทเนอร์ที่แข็งแรง และดำเนินธุรกิจไปได้อย่างยั่งยืน ในขณะที่ธุรกิจในไทย ไม่ค่อยชอบการใช้บริการคนกลาง และหลีกเลี่ยงคนกลางเพื่อไปติดต่อธุรกิจอื่นๆโดยตรง ซึ่งในบางครั้งทำให้เกิดอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทยไต้หวัน รวมไปถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจ
การทำความรู้จักกันในครั้งแรก
คนไต้หวันไม่นิยมคุยธุรกิจในครั้งแรกที่พบเจอกัน แต่จะเป็นการแนะนำตัวเองให้อีกฝ่ายได้รู้จัก พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆในการทำงาน เพื่อให้รู้รายละเอียดของอีกฝ่ายมากขึ้น รวมไปถึง สามารถหาโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการร่วมพาร์ทเนอร์ แต่สหรับธุรกิจไทย มักจะพูดถึงรายละเอียดตั้งแต่ในครั้งแรกที่พบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเนื้องาน ผลประโยชน์ที่จะได้รับในแต่ละฝ่าย และจุดประสงค์ในการมาพบกัน ซึ่งในมุมมองของธุรกิจไทยอาจมองว่าเป็นการเสียเวลาที่ต้องนัดพบกันหลายรอบ และในมุมของธุรกิจไต้หวันก็อาจมองว่ากำลังถูกเร่งรัด และไม่รู้จักอีกฝ่ายได้ดีพอ